ชนิดของ รางน้ำฝน

รางน้ำฝนชนิดต่างๆ รางน้ำฝนไวนิล รางน้ำฝนสแตนเลส

รางน้ำฝน มีกี่แบบ ควรเลือกใช้แบบไหนดี

รางน้ำฝนที่ใช้ติดตั้งในบ้านที่เราพบเห็นกันทั่วไปนี้ในปัจจุบันนี้ทำมาจากวัสดุหลากหลาย เดิมทีในอดีตการใช้รางน้ำฝนมีประโยชน์อย่างยิ่งเพราะเพื่อรองน้ำฝนจากบริเวณชายคาให้ไหลไปรวมที่จุดเดียวเพื่อรองน้ำฝนไว้ใช้อุปโภคและบริโภคโดยมักจะใช้เก็บใส่ตุ่มใบใหญ่ๆไว้ใช้ในครัวเรือนเพราะสมัยก่อนยังไม่มีการทำระบบน้ำประปา แต่ยุคปัจจุบันไม่นิยมนำน้ำฝนมาใช้ในการบริโภคเพราะมลพิษที่เพิ่มมากขึ้นและยังมีระบบประปาเข้ามาเสริมทำให้รางน้ำฝนถูกลดความสำคัญลงไปส่วนหนึ่ง แต่การติดตั้งรางน้ำฝนยังมีข้อดีอื่นๆทำให้ยังมีความจำเป็นเพื่อช่วยจัดการทิศทางการไหลของน้ำฝนที่ไหลมาให้รวมกันที่จุดเดียว สามารถเลือกจุดที่ต้องการได้เพื่อไม่ให้มวลน้ำที่ไหลตามชาคาไหลไปในบริเวณที่ไม่ต้องการลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหากับต้นไม้ที่อยู่บริเวณชายคาและช่วยลดการกัดเซาะพื้นบริเวณชายคาและน้ำที่ไหลไม่กระจัดกระจายไปยังบริเวณอื่นๆ ทั้งยังช่วยไม่ให้น้ำฝนที่ไหลจากหลังคาที่มีความสกปรกไหลลงสู่ผนังบ้านให้เกิดความสกปรกทำให้ไม่ต้องสายเวลาทำความสะอาดผนังบ้านหลังเกิดฝนตก

ชนิดของรางน้ำฝนวัสดุที่ใช้ทำรางน้ำฝนที่ใช้ในปัจจุบันมีหลากหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีทั้งในส่วนของข้อดีและข้อด้อยที่มีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นเราควรที่จะต้องทำการศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจเพื่อให้ได้รางน้ำฝนที่คงทนเหมาะสมกับงบประมาณที่มีอยู่และตรงกับความต้องการในการใช้งานของเราให้มากที่สุด และวัสดุที่นิยมใช้ทำรางน้ำฝนมากที่สุดในปัจจุบันนี้ มีอยู่ 5 ชนิดดังต่อไปนี้

รางน้ำฝนสแตนเลส แบบเหลี่ยมตามรูปทรงหลังคาบ้าน

1.รางน้ำฝนสแตนเลส

รางน้ำสแตนเลสเป็นวัสดุที่กำลังเริ่มมีความนิยมเพิ่มมากขึ้นในทุกๆปีเพราะคุณสมบัติที่โดดเด่นของสแตนเลสที่มีความทนทานสูง เนื้อของตัวสแตนเลสก็มีความมันวาว ไม่ก่อให้เกิดสนิม และมีอายุการใช้งานสูงถึง 10ปี ทำให้เป็นที่นิยมใช้กันมากขึ้นในปัจจุบันเดิมทีมักจะใช้กับอาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรมและเริ่มนำมาใช้กับบ้านเรือนมากขึ้น แต่รางน้ำสแตนเลสเมื่อใช้ไปนานๆมากจะเกิดปัญหาการรั่วซึมตามจุดเชื่อต่อขึ้นภายหลัง

การซ่อมแซมต้องทำการรื้อเพื่อทำความสะอาดและทำการเชื่อมรางน้ำใหม่แม้รางน้ำสแตนเลสจะมีราคาที่สูงกว่าเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับวัสดุชนิดอื่นๆแต่ก็นับว่ามีความคุ้มค่าคุ้มราคามากกว่าเช่นเดียวกัน

รางน้ำฝนอลูมิเนียม

2.รางน้ำฝนอลูมิเนียม

รางน้ำอลูมิเนียมเป็นรางน้ำที่มีความทนทานมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ทั้งยังทนต่อการกัดกร่อน ทนต่อสภาพอากาศ ไม่เกิดสนิม ตัวอลูมิเนียมมีน้ำหนักที่เบามาก สะดวกต่อการติดตั้งและง่ายต่อการเคลื่อนย้าย หากรู้จักวิธีการดูแลและทำการบำรุงรักษาอย่างถูกต้องแล้วละก็รางน้ำอลูมิเนียมจะสามารถใช้งานได้ถึง 25 ปีเป็นอย่างน้อย

รางน้ำฝนไวนิล

3.รางน้ำฝนไวนิล

ในปัจจุบันรางน้ำที่ทำมาจากตัววัสดุไวนิลมีขายให้เห็นอย่างแพร่หลาย มีหลายสีหลายเกรดให้เลือกสรรและเริ่มเป็นที่นิยมใช้มากยิ่งขึ้นเพราะมีความสวยงาม เหมาะกับบ้านหลากหลายสไตล์ ตัวไวนิลทำมาจากพลาสติกสำหรับงานตกแต่งภายนอก มีความทนทานและมีอายุการใช้งานสูงถึง 10ปี  สวยทน และยังไม่เป็นสนิม ทำการติดตั้งและซ่อมแซมง่าย มีหลายลักษณะให้เลือกใช้งานทั้งแบบเป็นรางต่อและแบบเป็นปอกเป็นข้อสวม ติดตั้งโดยการเชื่อมตัววัสดุเข้าด้วยกันด้วยซิลิโคน และถ้าหากเกิดการรั่วซึมก็สามารถใช้น้ำยาซิลิโคนอุดรอยต่อหรือรอยรั่วบริเวณนั้นๆ

หากมีการแตกหัก สามารถเปลี่ยนข้อที่แตกออกได้โดยไม่จำเป็นต้องรื้อรางน้ำทั้งหมด

รางน้ำฝน ไฟเบอร์กลาส

4.รางน้ำฝนไฟเบอร์กลาส

เดิมทีรางน้ำชนิดนี้มักจะใช้ตามโรงงานอุสาหกรรมเพราะตัวไฟเบอร์กลาสไม่ทำปฏิกิริยากับตัวสารเคมีทนทาน อายุการใช้งานสูง ไม่มีการผุกร่อนและไม่ก่อให้เกิดสนิม สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน โดยอายุการใช้งานอย่างน้อย20

ปีเป็นอย่างต่ำ หากมีการดูแลรักษาที่ดีและถูกต้องก็ยิ่งยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้นไปอีก แต่ข้อเสียคือในการติดตั้งรางน้ำไฟเบอร์กลาสจำเป็นที่จะต้องใช้ช่างเทคนิคที่มีความสามารถ ความชำนาญในการติดตั้ง เพราะต้องใช้เทคนิคในการหล่อผสานน้ำยาเพื่อเชื่อมตัวไฟเบอร์กลาสให้เนียนสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน ปัจจุบันจึงเริ่มนิยมนำมาใช้กับอาคารบ้านเรือนและที่อยู่อาศัยมากขึ้น

รางน้ำฝน สังกะสี

5.รางน้ำฝนสังกะสี

เป็นที่นิยมมากๆในสมัยก่อนเพราะเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายมีแพร่หลายในท้องตลาดทั้งยังราคาไม่สูงมากอีกด้วย การติดตั้งง่าย ความทนทานอยู่ในระดับที่ปานกลางอายุการใช้งานโดยประมาณจะอยู่ที่ 5 ปี แต่ข้อเสีย คือตัวสังกะสีนี้เมื่อใช้งานไปได้สักระยะจะเริ่มเกิดสนิมและมีการผุกร่อนตามมาส่งผลให้ในปัจจุบันรางน้ำสังกะสีจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไหร่นักเป็นยังไงกันบ้างค่ะ สำหรับเกร็ดความรู้ดีๆเกี่ยวกับชนิดของรางน้ำฝนแบบต่างๆที่ได้นำเอามาฝากกันในวันนี้ หวังว่าบทความนี้คงเป็นอีกหนึ่งข้อมูลดีๆเพื่อให้ทุกท่านได้นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อเลือกใช้งานและเลือกวัสดุเพื่อบ้านของเราให้เหมาะสมกับความต้องการและรูปแบบสไตล์ของบ้าน