วัสดุมุงหลังคา

เลือกวัสดุมุงหลังคาแบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน

โบราณว่าปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ แต่เรือนที่น่าอยู่นั้นต้องประกอบด้วยหลังคาที่สามารถปกป้องคุณ และคนในครอบครัวได้จากทุกสภาวะอากาศ ​นับตั้งแต่มนุษย์มีองค์ความรู้ในการสร้างเคหะสถาน หลังคาบ้านนับเป็นส่วนสำคัญที่สุด ก็มีการพัฒนาซึ่งมีการใช้งานแตกต่างกันไปตามแต่ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ เช่น ในแถบทะเลทรายจะนิยมใช้หลังคาที่ทนทานต่อความแห้งแล้ง สามารถป้องกันฝุ่นทรายได้ดี ส่วนประเทศแถบที่ร้อนชื้น ฝนตกชุก จะนิยมหลังคาที่ทนต่อความเปียกชื้นและพายุ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหลังคารั่ว ที่จะกลายเป็นปัญหาเรื้อรังกับตัวบ้าน ควรเลือกใช้หลังคาที่เหมาะสมกับสิ่งปลูกสร้าง และบริบททางภูมิอากาศ

1.หลังคาใบไม้  ที่นิยมกันอย่างแพร่หลายคือ หญ้าคา และใบตองตึง หลังคาทั้งสองประเภทนี้เหมาะกับการใช้มุงทับโครงสร้างที่ความแข็งแรงต่ำ เช่น กระท่อม เพิงพักชั่วคราว เป็นต้น เนื่องจากมีน้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี ป้องกันความร้อนได้ดี แต่มักมีปัญหาหลังคารั่ว อายุการใช้งานสั้น ไม่ทนทานต่อวาตภัย เป็นเชื้อเพลิงชั้นดี เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยได้ง่าย

การซ่อม : หลังคาใบไม้นี้ เมื่อเกิดการรั่วซึม คุณสามารถสวมบทบาทเป็นช่างซ่อมหลังคารั่ว โดยวิธีซ่อมหลังคารั่ว ที่ดีที่สุดคือ การเปลี่ยนตับมุงหลังคานั้น ๆ เนื่องจากไม่สามารถอุดรูรั่วซึมได้ด้วยยางกันซึมหรือวัสดุอุดรูรั่วอื่น อีกทั้งไม่คุ้มค่าในด้านราคา

การประยุกต์ใช้ในสิ่งปลูกสร้างปัจจุบัน : หลังคาใบไม้ถูกใช้ในวัตถุประสงค์การประดับตกแต่งในสถาปัตยกรรมแนววินเทจย้อนยุคมากกว่าการใช้เป็นหลังคาหลัก โดยจะนำหลังคาใบไม้วางทับบนแผ่นหลังคาอลูซิงค์หรือแผ่นหลังคาหลักชนิดอื่น

 2.หลังคาไม้  เป็นหลังคาที่อาศัยงานฝีมือช่างชั้นสูง ทั้งนี้หลังคาไม้มีสองแบบคือ หลังคาไม้ไผ่ที่ทำขึ้นจากไม้ไผ่ผ่าครึ่งตามแนวยาว วางคว่ำหงายทับกันไปมา ส่วนอีกแบบคือหลังคาไม้แผ่นที่ทำจากไม้แผ่นเนื้อแข็ง การมุงหลังคาไม้นี้ทำให้ตัวบ้านเย็นลดปัญหาหลังคารั่วเนื่องจากใช้ไม้เป็นแผ่นวางชิดกันมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ปัญหาที่พบมากคือความเสี่ยงต่ออัคคีภัย

การซ่อม :  ในการซ่อมหลังคารั่ว ที่เกิดจากการแตกรานของเนื้อไม้มุงหลังคา ช่างซ่อมหลังคารั่วจะใช้ตัง(กาวยางไม้) เป็นยางกันซึม ซึ่งช่างซ่อมหลังคารั่วแต่ละคน จะมีสูตรเฉพาะทำในการแก้หลังคารั่วตามแต่ภูมิปัญญาของช่าง แต่หากแผ่นหลังคาชำรุดเกินกว่าจะแซ่อมแซมได้ก็จำเป็นจะต้องเปลี่ยนแผ่นใหม่

การประยุกต์ใช้ในสิ่งปลูกสร้างปัจจุบัน : หลังคาไม้ถูกใช้เพื่อการประดับอาคารสถานที่หรือบ้านเรือนที่ต้องการความคลาสสิก โดยจัดวางแผ่นไม้ทับวัสดุมุงหลังคาชนิดอื่น

  3.หลังคากระเบื้องดินเผา กระเบื้องใยหิน กระเบื้องโมเนีย   หลังคาประเภทนี้มีน้ำหนักมากทนทานต่อวาตภัย ทั้งนี้โครงสร้างที่รับน้ำหนักต้องแข็งแรง ดีที่สุดคือโครงหลังคาเหล็ก หลังคาประเภทนี้สามารถกักเก็บความร้อนได้มาก ทำให้อุณหภูมิภายในอาคารสูงขึ้น แต่ข้อดีคือสามารถทนทานต่อลูกเห็บตก ป้องกันเสียงจากพายุฝนได้เป็นอย่างดี ส่วนปัญหาหลังคารั่วที่พบส่วนใหญ่มักจะเกิดจากรอยต่อของแผ่นมุงหลังคาที่ไม่สนิทกัน

การซ่อม : หากปัญหาหลังคารั่ว เกิดจากช่องว่างของตัวหลังคา สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดกาวซิลิโคนลงทนแสงลงตามรอยต่อของแผ่นหลังคา หรือจะใช้เทปกาวกันน้ำ ติดบริเวณรอยต่อของมุมหลังคา ส่วนปัญหาการรั่วซึมตามรอยต่อของกระเบื้องและอาคาร ช่างซ่อมหลังคารั่วส่วนใหญ่จะซ่อมหลังคารั่ว ด้วยการฉีดยางกันซึมเติมเต็มบริเวณช่องว่าง ส่วนปัญหาการรั่วแตกของหลังคา ไม่จำเป็นต้องถึงมือของช่างซ่อมหลังคารั่ว เพราะสามารถแก้ได้ด้วยการเปลี่ยนแผ่นมุงหลังคาที่แตกออกแล้วปูแผ่นใหม่ทดแทน

การประยุกต์ใช้ในสิ่งปลูกสร้างปัจจุบัน : วัสดุมุงหลังคาเหล่านี้มักปรากฏในสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการความหรูหรา ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการฉีด pu โฟม เพื่อเป็นฉนวนกันความร้อนให้ตัวอาคารมีอุณหภูมิที่ไม่สูงเกินไป ทั้งยังรักษาความสมดุลอุณหภูมิเพื่อป้องกันมิให้กระเบื้องหดหรือขยายตัวมากเกินไปจนทำให้เกิดการแตกรานจนเกิดปัญหาหลังคารั่วได้

4.หลังคาดาดฟ้า หลังคาคอนกรีต   หลังคาประเภทนี้มักพบได้ในอาคารพาณิชย์ที่ต้องการพื้นที่ใช้สอยบริเวณดาดฟ้าแทนการมุงหลังคาแบบทั่วไป อาจเรียกดาดฟ้านี้ว่าหลังคาคอนกรีตเพราะมีคุณสมบัติปกป้องภายในอาคารเหมือนกับหลังคาชนิดอื่น หากแต่ทำด้วยคอนกรีตเทพื้นแบบพื้นอาคาร ข้อดีของหลังคาประเภทนี้คือความแข็งแรงทนทานต่อทุกสภาพอากาศ มีพื้นที่ใช้สอยในที่โล่งแจ้งเพิ่มขึ้น ปัญหาที่พบได้บ่อยคือหลังคารั่วซึมจากรอยแตกรานของคอนกรีต ทำให้มีการอุ้มน้ำในเนื้อโครงสร้างมาก การตรวจหารูเพื่ออุดรูรั่วซึมทำได้ค่อนข้างยาก เพราะบางกรณีรูรั่วนี้อาจมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า

การซ่อม : จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยช่างซ่อมหลังคารั่ว ที่มีความชำนาญ มีวัสดุและเครื่องมือชนิดพิเศษในการซ่อมหลังคารั่ว เมื่อพบรอยแตกรานอันเป็นสาเหตุของการรั่วซึมแล้วช่างซ่อมหลังคารั่วก็จะทำการอุดรอยด้วย ยางกันซึม หรือ กาวซีเมนต์ เป็นต้น

การประยุกต์ใช้ในสิ่งปลูกสร้างปัจจุบัน : จากปัญหาหลังคารั่วที่เป็นปัญหาจุกจิกของหลังดาดฟ้า ทำให้ความนิยมในปัจจุบันลดน้อยลง แต่ยังพบได้ในอาคารขนาดใหญ่ที่ต้องการใช้พื้นที่ส่วนนี้เป็นลานจอดเฮลิคอปเตอร์ หรือติดตั้งเสาสัญญาณต่าง ๆ

 5.หลังคาอลูซิงค์ หรือ หลังคาเมทัลชีท

เป็นหลังคาที่ทำจากโลหะอะลูมิเนียมผสมกับแร่สังกะสี เพื่อให้ได้คุณสมบัติที่คลายความร้อนได้เร็ว แข็งแรงทนทาน มีน้ำหนักเบา อายุการใช้งานยาวนาน ลดปัญหาหลังคารั่วตามรอยต่อด้วยแนวคิดการลดรอยต่อของแผ่นหลังคาจากเทคโนโลยีการผลิตอลูซิงค์แผ่นยาว อีกทั้งมีการเสริมความแข็งแรงตามรอยต่อด้วย เทปกาวอเนกประสงค์ หรือเทปกาวกันน้ำ ทำให้ไม่ต้องกังวลใจเรื่องที่ต้องซ่อมหลังคารั่ว หลังคาอลูซิงค์ที่พบเห็นได้ทั่วไป และนิยมใช้กันเป็นวงกว้างคือ “เมทัลชีท” นั่นเพราะทนต่อการขีดข่วน สามารถดัดโค้งงอได้ตามโครงของอาคาร หากเปรียบเทียบกับหลังคากระเบื้องแล้ว นับว่าเมทัลชีทมีความคุ้มค่ากว่า ทั้งด้านราคา น้ำหนักเบา โครงอาคารจึงไม่จำเป็นต้องหนาแน่นเท่ากับโครงหลังคากระเบื้อง เนื่องจากไม่ต้องรับน้ำหนักมาก ไม่เกิดสนิมง่ายเช่นหลังคาสังกะสี สามารถรีดขึ้นรูปเป็นลอนได้ ประหยัดเวลาในการก่อสร้าง ติดตั้งไว ติดตั้งง่ายใช้เวลาน้อยหากเทียบกับหลังคาประเภทอื่น ๆ  แม้จะไม่ค่อยพบปัญหาจุกจิกให้ตามซ่อมหลังคารั่วบ่อย ๆ แต่กระนั้นหลังคาอลูซิงค์ก็มักมีปัญหาความร้อนสะสมในอาคาร แต่ไม่สูงเท่ากับสังกะสี และเสียงดังกวนใจเวลาฝนตก ในปัจจุบันจึงมีเทคโนโลยีการฉีด pu โฟม เพื่อเป็นฉนวนป้องกันเสียง และความร้อนได้เป็นอย่างดี

การซ่อม : หากเกิดปัญหาหลังคารั่ว ช่างซ่อมหลังคารั่วจะต้องประเมินปัญหาที่เกิดขึ้นว่ารอยรั่วนั้นจำเป็นจะต้องเปลี่ยนหลังคาทั้งแผ่นเลยหรือไม่ หากรอยรั่วนั้นเกิดขึ้นตามรอยต่อก็สามารถซ่อมหลังคารั่ว ด้วยการทายางกันซึม ในรอยต่อได้ อาจใช้เทปกาวอเนกประสงค์ หรือเทปกาวกันน้ำแทนในกรณีที่ปัญหาการรั่วซึมมาจากการฉีกขาด

การประยุกต์ใช้ในสิ่งปลูกสร้างปัจจุบัน : ความนิยมในการใช้แผ่นมุงหลังคาอลูซิงค์มีมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากคุณสมบัติเด่นด้านราคา น้ำหนัก การติดตั้งที่กล่าวไว้ข้างต้น อีกทั้งวัสดุมุงหลังคาชนิดนี้ยังสามารถนำไปใช้ร่วมกับสถาปัตยกรรมแบบต่าง ๆ เชิงอเนกประสงค์ได้อย่างลงตัว เช่น ใช้ทำรั้ว ทำผนัง ทำเกล็ดระบายลม เป็นต้น

6.หลังคาผ้าใบ

ทำจากผ้าใบเคลือบน้ำยากันน้ำ เสริมด้วยเส้นใยชนิดพิเศษเพื่อให้มีความแข็งแรงทนทานยืดอายุการใช้งานที่มากขึ้น หลังคาผ้าใบถือเป็นวัสดุมุงหลังคาที่มีน้ำหนักเบามาก มีความเป็นอิสระทางมิติรูปทรง ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี เป็นแผ่นขนาดยาวที่สามารถเย็บเชื่อมต่อและประสาน ป้องกันหลังคารั่วระหว่างรอยต่อได้ด้วยการใช้ยางกันซึม

การซ่อม : หากเกิดการชำรุดฉีกขาดหรือมีรูรั่ว การแก้หลังคารั่วนั้นต้องประเมินสภาพ และระดับความเสียหายที่หน้างาน หากรูรั่วนั้นไม่กว้างมาก ช่างซ่อมหลังคารั่วส่วนใหญ่ก็สามารถใช้วัสดุซ่อมแซมเฉพาะทางของผ้าใบมาปะปิดรอยได้ แต่ในกรณีที่รูรั่วนั้นมีขนาดใหญ่จนกระทบต่อความแข็งแรงโดยรวมก็จำเป็นจะต้องเปลี่ยนผ้าใบผืนใหม่

การประยุกต์ใช้ในสิ่งปลูกสร้างปัจจุบัน : สิ่งปลูกสร้างที่มีโครงสร้างแบบโดมกลางแจ้งนิยมใช้ผ้าใบเป็นวัสดุมุงหลังคา เนื่องจากไม่ทำให้อุณหภูมิภายในสูงมากเกินไป ทั้งยังสามารถตอบสนองความหลายหลายรูปแบบทางสถาปัตยกรรมได้เป็นอย่างดี เช่น การเลือกใช้ผ้าใบเป็นวัสดุมุงหลังคาของอาคารผู้โดยสารในสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น

 7. หลังคาโปร่งแสง   แม้ว่าหลังคาโปร่งแสงนี้จะไม่ถูกใช้งานเป็นหลังคาหลัก แต่ก็มีความสำคัญในการจัดแสงเงาให้กับตัวอาคาร เนื่องจากบางพื้นที่ที่ต้องการให้แสงแดดส่องถึงเพื่อเพิ่มมิติและความสว่าง ทั้งนี้หลังคาโปร่งแสงสามารถกันฝนได้เหมือนหลังคาประเภทอื่น มีทั้งชนิดที่เป็นไฟเบอร์กลาสที่มีความขุ่นค่อนข้างมีเม็ดสีขาวปน ชนิดอะคริลิกที่เป็นหลังคากรองแสงได้ มีตั้งแต่สีใสเคลียร์ไปจนถึงดำเกือบทึบ วัสดุชนิดนี้มีความทนทานสูงแต่มีน้ำหนักมาก ชนิดโพลีคาร์บอเนตซึ่งเป็นชนิดที่โปร่งแสง ให้แสงสีสว่างมากกว่าไฟเบอร์กลาส และมีน้ำหนักเบาที่สุดในบรรดาวัสดุมุงหลังคาประเภทโปร่งแสง วัสดุทั้งสามชนิดนี้ผู้ใช้งานควรศึกษาจุดเด่นและจุดด้อยของแต่ละประเภทให้ดีก่อนเลือกใช้

การซ่อม : ปัญหาการรั่วซึมของหลังความโปร่งแสงนี้มักเกิดขึ้นกับรอยต่อ ซึ่งปัญหานี้ช่างซ่อมหลังคารั่วนิยมแก้ไขด้วยการใช้ยางกันซึม หรือซิลิโคนทนแดดอุดรอยต่อระหว่างแผ่น แต่หากเกิดรอยแตกร้าวในเนื้องานจำเป็นต้องเปลี่ยนแผ่นใหม่เนื่องจากไม่สามารถซ่อมแซมเฉพาะจุดโดยยังคงคุณสมบัติของวัสดุไว้ได้

การประยุกต์ใช้ในสิ่งปลูกสร้างปัจจุบัน : นอกจากจะพบเห็นหลังคาชนิดโปร่งแสงนี้ตามอาคารแล้ว ยังพบเห็นได้ในงานสถาปัตยกรรมบ้านร่วมสมัย(บ้านสไตล์โมเดิน) และยังพบได้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการเพิ่มแสงสว่างภายในอาคารโดยใช้แสงจากธรรมชาติ

วัสดุมุงหลังคาทุกประเภทล้วนมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ช่างมุงหลังคาควรเลือกวัสดุที่ตรงกับงานให้มากที่สุด เพื่อให้หลังคามีคุณภาพที่ดีที่สุด ไม่เกิดปัญหาหลังคารั่ว ให้ความคุ้มค่าสูงสุดตลอดอายุการใช้งาน